บทความ

norobots in Medicine

รูปภาพ
    Nanorobots in Medicine                   หลาย ๆ คน อาจจะได้เห็นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ร่วมกับการพัฒนาเทคโนโลยีในหลาย ๆ ด้าน เช่น หุ่นยนต์เซิร์ฟอาหาร หุ่นยนต์ติดกล้องสอดส่องความปลอดภัยตามห้างสรรพสินค้า หุ่นยนต์โฆษณารถยนต์ ฯลฯ โดยในทางการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคติดต่อ เห็นได้จา.กตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์ในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 แต่ในจดหมายข่าวฉบับนี้ผมจะกล่าวถึงเทคโนยีหุ่นยนต์อีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ช่วยรักษาผู้ป่วย ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผลกระทบกับวงการแพทย์ในอนาคตค่อนข้างมาก เทคโนโลยีดังกล่าวนี้เป็นการส่งหุ่นยนต์ขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ นั่นคือ เทคโนโลยีหุ่นยนต์จิ๋วในรูปแบบเซลล์ (Cell-like nanorobots) Nanorobots แบบไม่เคลือบและเคลือบเซลล์เม็ดเลือดแดง   ที่มา:   https://spectrum.ieee.org/                            Nanorobots เป็นคำประสมระหว่าง Nanometers และ Robots ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กมากระดับนาโนเมตร ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้ากระแสเลือด ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีน

Massive Open Online Courses (MOOCs)

รูปภาพ
    Massive Open Online Courses (MOOCs)                   หลาย ๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า Massive Open Online Courses หรือ MOOCs มันต่างยังไงกับ e-learning หรือ Online courses ที่มีอยู่มานานแล้ว ดังนั้นในจดหมายข่าวฉบับนี้ ผมขอกล่าวถึง MOOCs ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์คล้าย ๆ กับ e-learning หรือ Online courses ครับ ที่มา: https://www.researchgate.net/                                จริง ๆ แล้ว MOOCs เป็นหนึ่งในรูปแบบของระบบ e-learning หรือ Online courses นั่นเอง โดยสังเกตได้จากชื่อเต็มของ MOOCs ที่มี Massive และ Open เพิ่มเติมเข้าไปก่อนหน้าคำว่า Online courses ดังนั้นถ้าจะถามถึงความแตกต่าง คงจะหนีไม่พ้นความหมายของ 2 คำที่เพิ่มเข้ามานั่นเอง กล่าวคือ Massive หมายถึงจำนวนผู้เรียนรู้ใน Online courses จะมีจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่มีมาตรฐานใดกำหนดไว้ว่ามากน้อยขนาดไหน แต่ระบบจะต้องสามารถรองรับการเข้าใช้งานได้พร้อม ๆ กันจำนวนมาก ส่วน Open หมายถึงการเปิดให้ผู้ต้องการที่จะเรียนรู้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีหลังจากที่มีการลงทะเบียนแบบเปิดแล้ว ซึ่งการเรียนรู้ใน MOOCs ส่วนใหญ่จะเปิดให้ผู้สนใจสามารถเรีย

Noise-canceling Technology

รูปภาพ
    Noise-canceling Technology                 ในจดหมายข่าวฉบับนี้ ผมขอกล่าวถึงเทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวน (Noise-canceling Technology) ที่กำลังได้รับความนิยมนำไปใช้กับหูฟังประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การฟังเสียงเพลงไม่ถูกเสียงภายนอกรบกวนการรับฟัง อีกทั้งยังใช้ในการป้องกันเสียงรบกวนในขณะที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์กำลังจะนอนอีกด้วย   ที่มา: https://www.sciencefocus.com/                 หลักการของเทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวนเป็นหลักการทางฟิสิกส์ซึ่งใช้คุณสมบัติของเสียงที่เป็นคลื่น Analog ที่ประกอบด้วยความถี่ (Frequency) และระดับพลังงาน (Amplitude) ที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดเป็นเสียงต่ำสูงต่างกันไป กระบวนการตัดเสียงรบกวนเริ่มต้นโดยการใช้ Microphone รับเสียงจากภายนอกมาประมวลผล และสร้างคลื่นเสียงที่มี Phase ที่ตรงข้ามกันกับเสียงที่ได้รับมา แล้วใช้ Speaker ส่งสัญญาณเสียงตรงกันข้ามนั้นออกไปผสมกับเสียงต้นทาง ทำให้ระดับเสียงถูกหักล้างกันเกิดเป็นคลื่นเสียงผสมที่มี Amplitude เป็น 0 หรือใกล้เคียง 0 ซึ่งหมายถึงความเงียบนั่นเอง                 อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ Noise-canceling ยังมีข้อเสียในเรื่องของการใช้พลังงานที่