ภัยคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 1)

เขียนโดย อ.ดร.ปิติพล พลพบู


      สืบเนื่องจากจดหมายข่าวฉบับที่แล้วในหัวข้อนี้ผมขอพูดถึงการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยวิธีง่าย ๆ ไปจนถึงวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากและอาจก่อให้เกิดความรำคาญในการใช้งาน คอมพิวเตอร์

“มีคำกล่าวว่าความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์มักจะสวนทางกับความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น เมื่อเราลงโปรแกรมป้องกันการโจมตีหรือโปรแกรมป้องกัน Malware ก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราทำงานช้าลง ดังนั้นเราจึงต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าความปลอดภัยระดับไหนเหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา”




     ภัยคุกคามที่ถูกกล่าวถึงบ่อยที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์คงหนีไม่พ้น Virus และ Malware ชนิดอื่น ๆ ดังที่กล่าวถึงในจดหมายข่าวฉบับที่แล้ว โดยระบบป้องกัน Malware ที่นิยมที่สุดถูกเรียกว่า Antivirus เรียกย่อ ๆ ว่า AV (หรือน้อยครั้งจะถูกเรียกว่า Anti-malware) โดยการทำงานของ AV จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ 



     AV ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป โดย Signature-based AV นั้นจะสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่า และค่อนข้างจะมีความผิดพลาดในการตรวจจับ Malware น้อยกว่า แต่จะไม่สามารถป้องกัน Malware ใหม่ๆ ได้และจำเป็นต้องรอให้ผู้ผลิต AV นั้นเผยแพร่ Virus patterns ใหม่ออกมาเสียก่อน ส่วน Behavior-based AV จะสามารถป้องกัน Malware ทั้งเก่าและใหม่ได้โดยส่วนใหญ่ แต่จะทำงานค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับ AV แบบแรก อีกทั้งยังมีความผิดพลาดค่อนข้างบ่อยในการตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติ เนื่องจากผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะมีการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปตามโอกาส กาลเวลา และยุคสมัย การเข้าเว็บที่ไม่เคยเข้า การลง โปรแกรมใหม่ หรือพฤติกรรมที่ไม่เคยทำมากก่อน จะถูก Behavior-based AV จัดเข้าข่ายว่าเป็นพฤติกรรม ผิดปกติทั้งหมด ดังนั้น AV แบบนี้จึงอาจจะสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ใช้งานไม่มากก็น้อย
    ในจดหมายข่าวฉบับหน้าเราจะมาดูวิธีการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่น ๆ กันต่อไปนะครับ 

บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (6 ธันวาคม 2560)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยwww.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Wireless Sensor Network (WSN)

เทคโนโลยีปี 2562 ตอน Edge Computing และ Fog Computing

เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology)