ภัยคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 2)
เขียนโดย อ.ดร.ปิติพล พลพบู
เราได้รู้จักกับชนิดของโปรแกรม Anti-virus (AV) กันมาแล้วจากจดหมายข่าวฉบับที่แล้ว ในฉบับนี้ผมขอกล่าวถึง วิธีการเลือกใช้งาน AV ให้เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ มาใช้กันนะครับ
“ใครหลาย ๆ คนอาจจะมีการใช้งาน AV อยู่บ้างแล้ว และน่าจะเคยพบปัญหาว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราทำงานช้าลงมากหลังจากเราติดตั้ง AV ซึ่งก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะ AV จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, hard disk drive, memory เป็นต้น เพื่อค้นหาและตรวจสอบการเข้าถึงและเรียกใช้งานไฟล์และ Process ต่างๆว่ามีการทำงานที่ผิดปกติเข้าข่าย Malware หรือไม่ ”
โดยการทำงานของ AV จะมีจังหวะการทำงานหลัก ๆ อยู่ 3 แบบคือ
ด้วยเหตุนี้เราจึงควรเลือก AV ที่มีความสามารถขั้นต่ำตรงตามที่เราต้องการเพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์ของเรา เช่น
(1) หากคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ไม่ได้ติดต่อใช้งาน Network หรือ Internet เราสามารถเลือกใช้ AV ที่สามารถใช้งานได้เพียง Manual scanning เพื่อตรวจสอบไฟล์จากอุปกรณ์ภายนอกที่ถูกเชื่อมต่อเข้ามา
(2) หากคอม พิวเตอร์นั้น ๆ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอก แต่ไม่ได้มีข้อมูลสำคัญใด ๆ ก็อาจจะลดภาระการทำงาน Real-time protection ลง และใช้ Schedule scanning ในการค้นหา Malware ได้
(3) หากคอมพิวเตอร์นั้น ๆ มีการเชื่อมต่อ เครือข่ายภายนอกและมีการจัดเก็บข้อมูลสำคัญก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้งานระบบ Real-time protection ของ AV และคงทำได้แค่เพียงเพิ่มศักยภาพของ Hardware ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น การใช้ Solid state drive (SSD) เป็นต้น อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเราจะเลือกใช้ Anti-virus ที่ดีเพียงใด Malware ก็ยังมีโอกาสเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ความประมาทของผู้ใช้งานเอง อีกทั้ง Malware ชนิดใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีวิธีป้องกันก็สามารถสร้างความเสียหายได้ด้วยเช่นกัน
บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (9 มกราคม 2561)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
ด้วยเหตุนี้เราจึงควรเลือก AV ที่มีความสามารถขั้นต่ำตรงตามที่เราต้องการเพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์ของเรา เช่น
(1) หากคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ไม่ได้ติดต่อใช้งาน Network หรือ Internet เราสามารถเลือกใช้ AV ที่สามารถใช้งานได้เพียง Manual scanning เพื่อตรวจสอบไฟล์จากอุปกรณ์ภายนอกที่ถูกเชื่อมต่อเข้ามา
(2) หากคอม พิวเตอร์นั้น ๆ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอก แต่ไม่ได้มีข้อมูลสำคัญใด ๆ ก็อาจจะลดภาระการทำงาน Real-time protection ลง และใช้ Schedule scanning ในการค้นหา Malware ได้
(3) หากคอมพิวเตอร์นั้น ๆ มีการเชื่อมต่อ เครือข่ายภายนอกและมีการจัดเก็บข้อมูลสำคัญก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้งานระบบ Real-time protection ของ AV และคงทำได้แค่เพียงเพิ่มศักยภาพของ Hardware ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น การใช้ Solid state drive (SSD) เป็นต้น อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเราจะเลือกใช้ Anti-virus ที่ดีเพียงใด Malware ก็ยังมีโอกาสเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ความประมาทของผู้ใช้งานเอง อีกทั้ง Malware ชนิดใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีวิธีป้องกันก็สามารถสร้างความเสียหายได้ด้วยเช่นกัน
บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (9 มกราคม 2561)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น