การเลือกใช้ Firewall

เขียนโดย อ.ดร.ปิติพล พลพบู


    ในจดหมายข่าวฉบับที่แล้ว ผมได้พูดถึง Firewall 2 ประเภทหลักได้แก่ Host-based และ Network-based Firewalls โดย Firewall ที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปมักจะหาใช้งานกันคงไม่พ้น Hosted-based Firewall ที่อยู่ในรูปแบบของ Software เพราะสามารถจัดหามาใช้งานได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนักหรือไม่มีเลยก็เป็นได้ ดังนั้นในจดหมายข่าวฉบับนี้ผมขอพูดถึงโปรแกรม Firewall ซึ่งใช้กันทั่วไปบนระบบปฏิบัติการ Windows นะครับ    สำหรับผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Unix/Linux Iptables เป็น Firewall ที่สามารถใช้งานได้ฟรีและมักจะถูกจัดอยู่ใน Firewall ที่ดีที่สุดลำดับต้น ๆ หากเราพูดถึง Firewall บนระบบปฏิบัติการ Windows ก็มีโปรแกรม Firewall ที่สามารถใช้งานได้ฟรีและสามารถป้องกันการบุกรุกได้อย่างดี เช่น


   1.    Comodo Firewall เป็น Firewall ที่เน้นการป้องกันในหลากหลายรูปแบบและการใช้งานที่ง่าย เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความรู้ด้าน Computer/Network Security ในระดับปานกลาง โดยโปรแกรมมีการจัดเรียงการทำงานที่สำคัญต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เข้าถึงได้ง่าย
   2.    AVS Firewall เป็น Firewall ที่สามารถใช้งานได้ง่ายกว่า Comodo เล็กน้อยแต่เลือกที่จะเน้นเฉพาะการป้องกันพื้นฐานซึ่งขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของการเข้าถึงข้อมูล
   3.    TinyWall เป็น Firewall แบบง่ายที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มี Function ในการป้องกันภัยค่อนข้างจำกัด หน้าตาของโปรแกรมอาจไม่สวยดึงดูดให้ใช้งาน แต่สามารถใช้งานได้ค่อนข้างง่าย
   4.    ZoneAlarm Firewall เป็น Firewall บนระบบปฏิบัติการ Windows ที่ถูกพัฒนามาเป็นระยะเวลานาน มี Function การป้องกันภัยทางระบบคอมพิวเตอร์อย่างหลากหลาย แต่อาจจะมีข้อเสียเล็กน้อยในเรื่องของความเร็วในการทำงาน ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถไม่สูงนัก
   นอกจาก Firewall ที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นนี้ ยังมี Firewall อีกหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้งานกัน โดยการเลือกใช้งานโปรแกรม Firewall แต่ละตัวนั้นควรคำนึงถึง 1) ความจำเป็นในการใช้งาน Function ในการป้องกันภัย 2) ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่จะทำการติดตั้ง Firewall 3) ความรู้ความสามารถในการใช้งานโปรแกรม Firewall นั้น ๆ ของผู้ใช้งานเอง และ 4) ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมนั้น ๆ ซึ่งเราจะสามารถกำหนดค่า Firewall ให้ทำงานเองอัตโนมัติหรือให้ผู้ใช้งานที่ส่วนในการควบคุมก็ได้


บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (5 เมษายน 2561)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยwww.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Wireless Sensor Network (WSN)

เทคโนโลยีปี 2562 ตอน Edge Computing และ Fog Computing

เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology)