เทคโนโลยีปี 2562 ตอน NG-PON

เรายังคงอยู่กับเทคโนโลยีใหม่ในปี 2562 กันต่อนะครับ โดยในจดหมายข่าวฉบับนี้ผมขอกล่าวถึงเทคโนโลยีที่คนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก แต่ที่จริงแล้วบ้านเรือนส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีการติดตั้ง Internet จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Next-Generation Passive Optical Network (NG-PON) ไม่มากก็น้อย
 
ภาพ : www.researchgate.net

   NG-PON เป็นเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ Gigabit Passive Optical Network (G-PON) ซึ่งอาศัยหลักการของ Time-Division Multiplexing (TDM) ในการรวมสัญญาณข้อมูลในเชิงเวลาทำให้ผู้ใช้งานเครือข่ายสามารถใช้งานเครือข่ายพร้อม ๆ กันได้ G-PON จะถูกเรียกในอีกชื่อว่า TDM-PON โดย G-PON จะใช้ส่งข้อมูลความเร็วสูงระดับ Gigabit ต่อวินาที หลังจากนั้นอีกประมาณ 6 ปี เทคโนโลยี NG-PON1 ได้ถูกประกาศเป็นมาตรฐาน โดยอาศัยหลักการรวมสัญญาณแบบ Wavelength-Division Multiplexing (WDM) ในการรวมสัญญาณที่มีความยาวช่วงคลื่นต่างกันเข้าด้วยกัน โดย NG-PON1 มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า XG-PON โดน X ในเลขโรมันหลายถึงเลข 10 เนื่องจากทำงานด้วยความเร็วระดับ 10 Gbps และเทคโนโลยีที่เราใช้กันอยู่ ณ ปัจจุบันคือ NG-PON2 ซึ่งรวมเทคโนโลยีการรวมสัญญาณทั้ง 2 เทคโนโลยีเข้าด้วยกันเรียกว่า Time- and Wavelength-Division Multiplexing (TWDM) ทำให้ NG-PON2 มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TWDM-PON ซึ่งมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 40 Gbps และสามารถรองรับผู้ใช้งานเครือข่ายจำนวนมากได้
   ระยะทำการของ NG-PON จะอยู่ในระยะไม่เกิน 20 กิโลเมตรจากอุปกรณ์ต้นทาง และสามารถยืดระยะทางด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณได้เหมือนเทคโนโลยีเครือข่ายอื่น ๆ นอกจากนี้ NG-PON ซึ่งถูกพัฒนาบนเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงทำให้ NG-PON มีต้นทุนทั้งการลงทุนเริ่มต้นและการบำรุงรักษาค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและราคากับเทคโนโลยีใกล้เคียงอื่น ๆ อีกทั้งยังง่ายต่อการบำรุงรักษาอีกด้วย จึงเป็นเหตุให้เทคโนโลยีถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (10 พฤษภาคม 2562)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยwww.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคโนโลยีปี 2562 ตอน Edge Computing และ Fog Computing

การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Wireless Sensor Network (WSN)

การโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 1