เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology)
ในยุคปัจจุบัน เราคงจะหนีไม่พ้นการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถทำงานแทนมนุษย์หรือช่วยลดขั้นตอน เบาแรงมนุษย์ได้ โดยหลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย ไม่รู้จัก หรือไม่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเทคโนโลยีนี้นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ในปัจจุบัน กล่าวคือ เทคโนโลยีเซนเซอร์ นั่นเองครับ
ภาพ : https://insights.samsung.com/2017/02/03/sensor-technology-delivers-enhancements-to-homeland-security/
เซนเซอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรับค่าต่าง ๆ เพื่อให้อุปกรณ์หลากหลายชนิดได้นำไปประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์เซนเซอร์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามคุณสมบัติในการตรวจวัด ประกอบด้วย
1. เซนเซอร์ด้านกายภาพ (Physical sensor) คือ เซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดค่า ระดับ ปริมาณ และคุณสมบัติทางกายภาพอื่น ๆ โดย Physical sensor ใช้เซลล์พิเศษที่มีความไวสิ่งที่ต่อการวัดค่า เช่น แสง, การเคลื่อนไหว, อุณหภูมิ, สนามแม่เหล็ก, แรงโน้มถ่วง, ความชื้น, การสั่นสะเทือน, แรงดัน, สนามไฟฟ้า, เสียง และสารพิษ เป็นต้น 2. เซนเซอร์ด้านเคมี (Chemical sensor) คือ เซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดสารเคมีต่างๆ โดยอาศัยปฏิกิริยาจำเพาะทางเคมี แล้วแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลที่สามารถอ่านวิเคราะห์ได้ เช่น เซนเซอร์ตรวจวัดสารเคมีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น ดินและน้ำ เป็นต้น 3. เซนเซอร์ทางชีวภาพ (Biosensor) คือ เซนเซอร์ที่อาศัยเทคนิคการใช้สารชีวภาพ (Biological recognition material) มาเป็นตัวทำปฏิกิริยาจำเพาะกับสารเป้าหมาย เช่น เซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับออกซิเจน, ระดับฮอร์โมน, ระดับสารสื่อประสาท เป็นต้น
ในทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น การแพทย์, การเกษตร, และการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
โดยเทคโนโลยีเซนเซอร์จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเทคโนโลยี IoT ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น Temperature sensor ใช้ตรวจสอบความเย็นของตู้เย็น, Proximity sensor, Accelerometer sensor, และ Gyroscope sensor ใช้ในงานแผนที่ซึ่งมีอยู่ใน Smartphone ส่วนใหญ่, Motion detection sensor ใช้ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ เพื่อเปิดไฟอัตโนมัติ, Optical sensor ใช้สร้างแผนที่อัตโนมัติในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เป็นต้น ในอนาคตมีแนวโน้มว่าการใช้งานเทคโนโลยีเซนเซอร์จะยิ่งทวีคูณความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเทคโนโลยีมักจะถูกใช้ควบคู่กันกับเทคโนโลยีเซนเซอร์ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารไร้สาย และเทคโนโลยีพลังงานไร้สายหรือแบตเตอรี่ (Battery) ก็จะมีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย โดยผมจะได้กล่าวถึงทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ในจดหมายข่าวครั้งถัด ๆ ไปครับ
บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (10 ธันวาคม 2562)1. เซนเซอร์ด้านกายภาพ (Physical sensor) คือ เซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดค่า ระดับ ปริมาณ และคุณสมบัติทางกายภาพอื่น ๆ โดย Physical sensor ใช้เซลล์พิเศษที่มีความไวสิ่งที่ต่อการวัดค่า เช่น แสง, การเคลื่อนไหว, อุณหภูมิ, สนามแม่เหล็ก, แรงโน้มถ่วง, ความชื้น, การสั่นสะเทือน, แรงดัน, สนามไฟฟ้า, เสียง และสารพิษ เป็นต้น 2. เซนเซอร์ด้านเคมี (Chemical sensor) คือ เซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดสารเคมีต่างๆ โดยอาศัยปฏิกิริยาจำเพาะทางเคมี แล้วแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลที่สามารถอ่านวิเคราะห์ได้ เช่น เซนเซอร์ตรวจวัดสารเคมีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น ดินและน้ำ เป็นต้น 3. เซนเซอร์ทางชีวภาพ (Biosensor) คือ เซนเซอร์ที่อาศัยเทคนิคการใช้สารชีวภาพ (Biological recognition material) มาเป็นตัวทำปฏิกิริยาจำเพาะกับสารเป้าหมาย เช่น เซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับออกซิเจน, ระดับฮอร์โมน, ระดับสารสื่อประสาท เป็นต้น
ในทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น การแพทย์, การเกษตร, และการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
โดยเทคโนโลยีเซนเซอร์จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเทคโนโลยี IoT ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น Temperature sensor ใช้ตรวจสอบความเย็นของตู้เย็น, Proximity sensor, Accelerometer sensor, และ Gyroscope sensor ใช้ในงานแผนที่ซึ่งมีอยู่ใน Smartphone ส่วนใหญ่, Motion detection sensor ใช้ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ เพื่อเปิดไฟอัตโนมัติ, Optical sensor ใช้สร้างแผนที่อัตโนมัติในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เป็นต้น ในอนาคตมีแนวโน้มว่าการใช้งานเทคโนโลยีเซนเซอร์จะยิ่งทวีคูณความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเทคโนโลยีมักจะถูกใช้ควบคู่กันกับเทคโนโลยีเซนเซอร์ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารไร้สาย และเทคโนโลยีพลังงานไร้สายหรือแบตเตอรี่ (Battery) ก็จะมีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย โดยผมจะได้กล่าวถึงทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ในจดหมายข่าวครั้งถัด ๆ ไปครับ
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น