โรคติดสื่อสังคมออนไลน์ (Social Addiction)
ในปัจจุบันเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ในบางครั้ง Smart phone เปรียบเสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์เลยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะ Smart phone สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้รวมถึงการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เช่น Facebook, Twitter, Instagram, และ Instant messaging อื่น ๆ ด้วย
เดิมทีมนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องการการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง ดังนั้นการที่เราสามารถเข้าถึง Social media ได้ง่ายขึ้นมากในปัจจุบัน ทำให้มีความเสี่ยงในการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์เป็นไปได้ง่ายขึ้นมากตามไปด้วย เราสามารถสังเกตตนเองได้หากมีอาการเหล่านี้หลายข้อก็มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะมีปัญหาการติด Social media 1. อยู่กับ Social media มากกว่าที่ตั้งใจไว้ 2. ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้ Social media มักจะมีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด 3. หากเราพยายามที่จะควบคุมการเข้าถึง Social media ของตัวเองแต่ไม่สามารถควบคุมได้ 4. คิดถึง Social media อยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม 5. เวลาที่เครียดมักจะใช้ Social media เพื่อคลายเครียด 6. มีการโกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่น Social media 7. Social media เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา Social addiction เบื้องต้นได้แก่ 1) พยายามจำกัดเวลาการใช้ Social media ให้ลดลงหรือกำหนดเวลาให้แน่ชัด โดยสามารถใช้การตั้งเตือนก่อนที่จะครบเวลาที่กำหนดช่วยด้วย 2) พยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น งานอดิเรกที่สนใจ การออกกำลังกาย การพบปะเพื่อนหรือญาติ การไปท่องเที่ยว การหากิจกรรมคลายความเครียด
นอกจากอาการของ Social addiction ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางครั้งพบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด สมาธิสั้น และ Bipolar ดังนั้นหากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการของ Social addiction ดังกล่าวข้างต้น แล้วไม่สามารถจัดการกับตัวเองด้วยวิธีเบื้องต้นได้ ก็ควรนัดหมายเข้าพบจิตแพทย์เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาปัญหา Social addiction และโรคร่วมอื่น ๆ ทางจิตเวชต่อไป
บทความจาก : ร.อ.หญิง พญ.กานติ์ชนิต ผลประไพ จิตแพทยประจำ Mind Center โรงพยาบาลพระรามเกา (1 สิงหาคม 2562)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
(ภาพจาก https://www.thespiritsbusiness.com/2016/07/top-10-spirits-brands-on-social-media-2/)
เดิมทีมนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องการการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง ดังนั้นการที่เราสามารถเข้าถึง Social media ได้ง่ายขึ้นมากในปัจจุบัน ทำให้มีความเสี่ยงในการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์เป็นไปได้ง่ายขึ้นมากตามไปด้วย เราสามารถสังเกตตนเองได้หากมีอาการเหล่านี้หลายข้อก็มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะมีปัญหาการติด Social media 1. อยู่กับ Social media มากกว่าที่ตั้งใจไว้ 2. ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้ Social media มักจะมีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด 3. หากเราพยายามที่จะควบคุมการเข้าถึง Social media ของตัวเองแต่ไม่สามารถควบคุมได้ 4. คิดถึง Social media อยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม 5. เวลาที่เครียดมักจะใช้ Social media เพื่อคลายเครียด 6. มีการโกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่น Social media 7. Social media เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา Social addiction เบื้องต้นได้แก่ 1) พยายามจำกัดเวลาการใช้ Social media ให้ลดลงหรือกำหนดเวลาให้แน่ชัด โดยสามารถใช้การตั้งเตือนก่อนที่จะครบเวลาที่กำหนดช่วยด้วย 2) พยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น งานอดิเรกที่สนใจ การออกกำลังกาย การพบปะเพื่อนหรือญาติ การไปท่องเที่ยว การหากิจกรรมคลายความเครียด
นอกจากอาการของ Social addiction ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางครั้งพบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด สมาธิสั้น และ Bipolar ดังนั้นหากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการของ Social addiction ดังกล่าวข้างต้น แล้วไม่สามารถจัดการกับตัวเองด้วยวิธีเบื้องต้นได้ ก็ควรนัดหมายเข้าพบจิตแพทย์เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาปัญหา Social addiction และโรคร่วมอื่น ๆ ทางจิตเวชต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น