เทคโนโลยีปี 2562 ตอน 5G
ในจดหมายข่าวฉบับนี้ผมขอกล่าวต่อเนื่องในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ในปี 2562 กันต่อนะครับ ครั้งนี้ผมขอพูดถึงเทคโนโลยี 5G ที่หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักหรือคุ้นหูอยู่บ้าง เนื่องจากประเทศไทยของเรามีการใช้งานระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G, 3G, และ 4G มาแล้ว
2G, 3G, 4G, และ 5G คือชื่อที่เราใช้เรียกเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัล โดย G นั้นย่อมาจากคำว่า Generation เรียกง่าย ๆ ว่ารุ่นที่ 2, 3, 4, และ 5 ตามลำดับ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในแต่ละรุ่นจะมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ในแต่ละรุ่นจะมีเป้าหมายในการพัฒนาที่แตกต่างกันดังนี้
2G – เน้นการส่งข้อมูลเสียงคุณภาพสูง, ข้อความ SMS, ข้อความภาพ, และสื่อผสม MMS โดยใช้สัญญาณที่มีความสามารถในการส่งข้อมูลทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้ 3G – เน้นการใช้งาน Video call และ Mobile TV 4G – รองรับ HD mobile TV, 3D TV, Video conference, เกม, และบริการอื่น ๆ ที่ต้องใช้งาน Internet ความเร็วสูง 5G – รองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กัน
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นไปตามระบบ Demand and supply ซึ่งในเทคโนโลยีที่ประเทศไทยใช้อยู่ ณ ปัจจุบันคือ 2G, 3G, และ 4G นั้นยังไม่สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ 5G จึงเน้นการพัฒนาในส่วนนี้ 5G ถูกประกาศไว้ว่าจะมีการเริ่มใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแน่นอนครับว่ายังไม่ใช่ในประเทศไทยแน่ ๆ โดยความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 20 Gbps โดยอาศัยการส่งข้อมูลหลายช่องสัญญาณ (Massive MIMO) พร้อม ๆ กัน โดยการทำงานของ 5G จะอาศัยการส่งสัญญาณโดยแบ่งพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Cell ซึ่งใน 5G นี้ Cell จะมีพื้นที่ที่เล็กลงกว่า Cell ของเทคโนโลยีก่อนหน้านี้มาก เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานจำนวนมาก อีกทั้งยังเพิ่มความเร็ว (Increase speed) ในการส่งข้อมูลและลดเวลาในการตอบสนอง (Reduce latency) อีกด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้น จะสังเกตได้ว่าการเปลี่ยนเทคโนโลยีจากรุ่นที่ 4 มาเป็นรุ่นที่ 5 จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลจากการติดตั้งเสาสัญญาณใหม่จำนวนมากตามจำนวน Cell ที่เพิ่มขึ้นเพราะแต่ละ Cell มีขนาดเล็กลง ดังนั้นคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค 5G อย่างแท้จริง เราคงต้องรอลุ้นกันต่อไปนะครับว่า 5G จะสามารถเข้ามาในประเทศไทยเราได้ใช้กันภายในปีนี้หรือไม่
บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (1 มีนาคม 2562)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
ภาพ : https://www.samma3a.com/tech/en/everything-about-5g/
2G, 3G, 4G, และ 5G คือชื่อที่เราใช้เรียกเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัล โดย G นั้นย่อมาจากคำว่า Generation เรียกง่าย ๆ ว่ารุ่นที่ 2, 3, 4, และ 5 ตามลำดับ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในแต่ละรุ่นจะมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ในแต่ละรุ่นจะมีเป้าหมายในการพัฒนาที่แตกต่างกันดังนี้
2G – เน้นการส่งข้อมูลเสียงคุณภาพสูง, ข้อความ SMS, ข้อความภาพ, และสื่อผสม MMS โดยใช้สัญญาณที่มีความสามารถในการส่งข้อมูลทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้ 3G – เน้นการใช้งาน Video call และ Mobile TV 4G – รองรับ HD mobile TV, 3D TV, Video conference, เกม, และบริการอื่น ๆ ที่ต้องใช้งาน Internet ความเร็วสูง 5G – รองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กัน
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นไปตามระบบ Demand and supply ซึ่งในเทคโนโลยีที่ประเทศไทยใช้อยู่ ณ ปัจจุบันคือ 2G, 3G, และ 4G นั้นยังไม่สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ 5G จึงเน้นการพัฒนาในส่วนนี้ 5G ถูกประกาศไว้ว่าจะมีการเริ่มใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแน่นอนครับว่ายังไม่ใช่ในประเทศไทยแน่ ๆ โดยความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 20 Gbps โดยอาศัยการส่งข้อมูลหลายช่องสัญญาณ (Massive MIMO) พร้อม ๆ กัน โดยการทำงานของ 5G จะอาศัยการส่งสัญญาณโดยแบ่งพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Cell ซึ่งใน 5G นี้ Cell จะมีพื้นที่ที่เล็กลงกว่า Cell ของเทคโนโลยีก่อนหน้านี้มาก เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานจำนวนมาก อีกทั้งยังเพิ่มความเร็ว (Increase speed) ในการส่งข้อมูลและลดเวลาในการตอบสนอง (Reduce latency) อีกด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้น จะสังเกตได้ว่าการเปลี่ยนเทคโนโลยีจากรุ่นที่ 4 มาเป็นรุ่นที่ 5 จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลจากการติดตั้งเสาสัญญาณใหม่จำนวนมากตามจำนวน Cell ที่เพิ่มขึ้นเพราะแต่ละ Cell มีขนาดเล็กลง ดังนั้นคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค 5G อย่างแท้จริง เราคงต้องรอลุ้นกันต่อไปนะครับว่า 5G จะสามารถเข้ามาในประเทศไทยเราได้ใช้กันภายในปีนี้หรือไม่
บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (1 มีนาคม 2562)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น