โปรแกรมติดต่อสื่อสารระยะไกล

      ในช่วงของการระบาดของโรคติดต่อไวรัส COVID-19 หลาย ๆ คนอาจจะกังวลที่จะต้องเดินทางออกจากบ้านไปเรียนหรือไปทำงาน โดยเฉพาะการที่เราจะต้องติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยตรง ยิ่งถ้าจำเป็นจะต้องประชุมงานกับกลุ่มคนจำนวนมาก อาจจะทำให้กังวลเรื่องการติดต่อของโรคมากขึ้นอีก ดังนั้นในจดหมายข่าวฉบับนี้ ผมขอนำเสนอโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้พวกเราปลอดภัยจากการติดต่อของโรคในสถานการณ์ปัจจุบัน      ผมขอยกตัวอย่าง 5 โปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน สำหรับการติดต่อสื่อสารระยะไกล โดยแต่ละโปรแกรมอาจจะมีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
      1.Zoom เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงการระบาดนี้ โดยโปรแกรม Zoom จะเน้นการประชุมทางไกล สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมเป็นกลุ่มจำนวนมาก โดยอาศัย Key เป็นตัวเลข 9-10 หลักเพื่อเข้าร่วมการประชุม ดังนั้นความปลอดภัยอาจจะไม่สูงมากเนื่องจาก Key ที่ไม่มีความซับซ้อน     
 2.Facetime เป็นโปรแกรมบนอุปกรณ์ค่าย Apple ซึ่งผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารผู้ใช้งานอื่น ๆ ที่ใช้อุปกรณ์ของค่าย Apple เหมือนกัน โดย Facetime เป็นโปรแกรมที่ค่อนข้างเสถียร สามารถประชุมหลายสายโดยไม่จำเป็นต้องสร้างห้องประชุมเหมือน Zoom แต่จำเป็นต้องรู้ Contact ของผู้อื่น เช่น เบอร์โทรศัพท์ หรือ e-mail เป็นต้น ทำให้ความปลอดภัยสูงขึ้นระดับหนึ่ง       
3.Signal เป็นโปรแกรม Open-source ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี สามารถใช้งานได้คล้ายกับ Facetime แต่ไม่สามารถประชุมหลายสายได้ ทำได้เพียงการคุยกันแบบหนึ่งต่อหนึ่งเท่านั้น โดยมีความปลอดภัยในระดับใกล้เคียงกับ Facetime      
 4.Skype เป็นโปรแกรมติดต่อสื่อสารระยะไกลที่มีมานานมากแล้ว แต่ถูกบริษัท Microsoft ซื้อไปพัฒนาต่อ โดย Skype รองรับทั้งการพูดคุยแบบหนึ่งต่อหนึ่งและการประชุมเป็นกลุ่ม นอกจากนี้ Skype รองรับการโทรเข้าเบอร์โทรศัพท์ แต่โปรแกรมต้องการ Spec อุปกรณ์ที่สูงกว่าโปรแกรมอื่น ๆ ทำให้ความนิยมการใช้งานลดลง      
 5.Jitsi เป็นโปรแกรม Open-source ที่มีความสามารถมากพอ ๆ กับโปรแกรมอื่น ๆ รองรับการประชุมหลายสาย แต่ยังไม่เสถียรมากนัก ยังมีปัญหาระหว่างการใช้งานอยู่บ้าง โดยผู้พัฒนายังคงพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง      
 6.Houseparty เป็นโปรแกรมทางเลือกในการประชุมหลายสาย แต่อาจจะไม่เน้นความปลอดภัยของข้อมูลการประชุมมากนัก เหมาะสำหรับการพูดคุยในกลุ่มคนใกล้ชิด
จากที่ได้กล่าวมา โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน แล้วแต่เป้าหมายการใช้งานหลัก ดังนั้นเราจึงควรศึกษาการใช้งานและทดลองใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของเราเอง

บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (5 เมษายน 2563)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Wireless Sensor Network (WSN)

เทคโนโลยีปี 2562 ตอน Edge Computing และ Fog Computing

เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology)