การเชื่อมต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย

  ในยุคปัจจุบัน Internet ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อธุรกิจหรือธุรกรรมส่วนตัว ดังนั้นในจดหมายข่าวฉบับนี้ ผมขอกล่าวถึงระบบการเชื่อมต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานและระบบการทำงานของแอปพลิเคชันถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบหลัก ๆ ดังนี้

   1. Client-Server Model หรือ Infrastructure Mode เป็นระบบซึ่งอาศัยการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์กลาง เรียกว่า Server โดยผู้ใช้งานในระบบนี้ถูกเรียกว่า Client เมื่อ Client หนึ่งใดต้องการติดต่อสื่อสารกับ Client อื่น จะต้องทำการเชื่อมต่อผ่าน Server เสมอ โดยระบบ Client-Server Model นี้มีความรวดเร็วและมีเสถียรภาพสูง เนื่องจากคุณสมบัติของ Server ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจาก Client จำนวนมากพร้อม ๆ กัน ในทางกลับกัน ถ้า Server มีปัญหาไม่สามารถให้บริการได้ Client จะไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชันนั้น ๆ และไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับ Client อื่น ๆ ได้จนกว่า Server จะได้รับการแก้ไขให้ใช้งานได้ปกติ ยกตัวอย่างระบบ Client-Server เช่น Website ต่าง ๆ, Game online, Application ที่ใช้ฝากไฟล์ online เป็นต้น      2. Peer-to-Peer Model (P2P) หรือ Infrastructureless Mode เป็นระบบที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง Server และ Client โดยผู้ใช้งานที่เริ่มต้นการเชื่อมต่อจะทำหน้าที่เป็น Server และผู้ใช้งานอื่นจะทำหน้าที่เป็น Client ซึ่งเมื่อจบการเชื่อมต่อในครั้งนั้น ๆ ผู้ใช้งานใดที่ต่อการเริ่มการเชื่อมต่ออีกครั้งจะทำหน้าที่เป็น Server และผู้ใช้งานที่เหลือจะทำหน้าที่เป็น Client จะเห็นได้ว่าระบบ P2P นี้ไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ซึ่งช่วยลดปัญหาระบบกลางมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถใช้งานระบบได้ แต่ในทางกลับกัน อุปกรณ์ในระบบนี้มักจะมีคุณสมบัติทั้งความเร็วในการประมวลผล ความเร็วในการเชื่อมต่อ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งอาจจะทำให้การเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานจำนวนมากมีความล่าช้า หรืออาจจะมีความติดขัดระหว่างการใช้งานได้ ตัวอย่างระบบ P2P เช่น Bit-torrent, Game ที่รองรับการเชื่อมต่อระยะใกล้, โปรแกรมค้นหาวิ่งของด้วยสัญญาณไร้สาย เป็นต้น      โดยสรุป การเชื่อมต่อทั้ง 2 รูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานของระบบนั้น ๆ ซึ่งเรามักจะพบเห็นระบบ Client-Server ได้บ่อยครั้งกว่าระบบ P2P เพราะระบบส่วนใหญ่ต้องการความรวดเร็วในการเชื่อมต่อและต้องการความเสถียรที่สูงนั่นเอง
 


บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (9 มิถุนายน 2563)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Wireless Sensor Network (WSN)

เทคโนโลยีปี 2562 ตอน Edge Computing และ Fog Computing

เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology)