การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Ad-hoc Network

 

 

      ต่อเนื่องจากจดหมายข่าวฉบับที่แล้วนะครับ เราได้ทำความรู้จักกับระบบการสื่อสารทั้งแบบ Client-Server และ P2P กันแล้ว ตั้งแต่จดหมายข่าวฉบับนี้ เรามาทำความรู้จักการเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ P2P ในรูปแบบต่าง ๆ กันดีกว่าครับ




          เครือข่ายไร้สายสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ Infrastructure และ Infrastructureless โดยเครือข่ายแบบ Instructure ต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สถานีส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อเข้าหาเครือข่ายอื่น ๆ ส่วนเครือข่ายแบบ Infrastructureless หรือ P2P หรือเครือข่ายแบบที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เครือข่ายหลัก โดยเราสามารถเรียกเครือข่ายแบบ Infrastrutureless แบบง่าย ๆ ได้ว่า Ad-hoc network
          Ad hoc เป็นภาษาลาตินแปลว่า “For this” หรือ “For this situation” หรือ “สำหรับในกรณีนี้” ซึ่งถูกนำมาใช้ตั้งชื่อเทคโนโลยีการเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบเฉพาะกิจ โดยอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ส่วนใหญ่ เช่น Smartphone, Tablet, Laptop ฯลฯ สามารถจำลองตัวเองเป็น Router เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อเครือข่ายเฉพาะในกลุ่มอุปกรณ์ใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่น Smartphone สามารถสร้าง Hotspot เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์โดยรอบให้สามารถใช้งาน Mobile Internet ของ Smartphone เครื่องนั้นได้โดยไม่ต้องใช้ SIM card อีกอันหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อใด ๆ เพิ่มเติม โดยความสามารถในการสร้างเครือข่ายแบบ Ad-hoc นี้ อุปกรณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องมี Wireless network interface card (Wireless NIC) ที่ไม่ได้เชื่อมต่อเครือข่ายใด ๆ อยู่แล้ว เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการรับ-ส่งข้อมูลจากเครือข่ายภายใน โดย 1 Wireless NIC จะสามารถเชื่อมต่อได้กับเครือข่ายเดียวเท่านั้น แต่จำนวนการเชื่อมต่อหรือจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่สร้างการเชื่อมต่อแบบ Ad-hoc ขึ้นมา
          เครือข่ายไร้สายแบบ Ad-hoc นี้ถูกนำไปพัฒนาเป็นเครือข่ายรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Mobile Ad-hoc Network (MANET), Wireless Mesh Network (WMN), Wireless Sensor Network (WSN), Mobile Wireless Sensor Network (MWSN), Mobile Social Network (WSN), Vehicular Ad-hoc Network (VANET), Vehicular Delay-Tolerant Network (VDTN) เป็นต้น โดยผมจะกล่าวถึงในจดหมายข่าวฉบับถัด ๆ ไปครับ




บทความจาก : อาจารย์ ดร. ปิติพล พลพบู สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (9 กันยายน 2563)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th
เว็บไซต์สาขาวิชา http://pgm.npru.ac.th/ct/
ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/pitiphol/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายแบบ Wireless Sensor Network (WSN)

เทคโนโลยีปี 2562 ตอน Edge Computing และ Fog Computing

เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology)